หาก พรบ.คู่ชีวิต สามารถผ่านพ้นฝ่ายนิติบัญญัติไปได้ จะเป็นจุดเปลี่ยนให้สังคมไทยมีทัศนคติต่อเรื่องรักร่วมเพศเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ผศ.ดร.พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์ หัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มองว่า ประเด็นการผลักดันร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตเป็นเรื่องของการแสดงออกเรื่องการยอมรับในความแตกต่างของคนเป็นการยอมรับในสิทธิที่จะพัฒนาบุคลิกภาพของแต่ละคนไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการ “ข้อโต้แย้งที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทยคือเมื่อเราพูดถึงสิทธิในการสมรสของคนที่มีหลากหลายทางเพศมักจะมีคนโต้แย้งว่าเป็นการทำลายสถาบันครอบครัว
เป็นการทำลายวัฒนธรรมซึ่งมันสะท้อนถึงวิธีคิดของคนกลุ่มใหญ่ที่พยายามให้โลกเป็นอย่างที่ตัวเองเป็นอยู่ ไม่เคารพสิทธิของคนที่มีจำนวนน้อยกว่าเมื่อคนกลุ่มใหญ่ที่เป็นผู้หญิงและผู้ชายทำการสมรสกัน ชายหญิงก็มีความคาดหวังว่าสถาบันครอบครัวจะต้องมีลักษณะตามวิถีแบบเพศตรงข้าม ไม่ควรเป็นแบบรักร่วมเพศ ไม่ควรจะมีการสมรสของทอมดี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่กลุ่มคนหลากหลายทางเพศไม่เดินตามวิถีชีวิตแบบที่คนส่วนใหญ่คาดหวัง กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ก็จะคิดว่ามันเป็นการทำลายวัฒนธรรมทำลายโลกที่เขาคิดว่ามันควรจะเป็น” ซึ่งนอกจากนี้ยังมีผลกระทบไปยังเศรษฐกิจที่เกี่ยวพันกับคนกลุ่มนี้ด้วยทั้งตลาดเสื้อกล้ามทอม เสื้อผ้าทอมดี้ เสื้อทอมและสินค้าอุปโภคอื่นๆ
ในเมืองไทยได้มีคู่รักเพศเดียวกันได้พยายามต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ที่ควรจะได้ อย่างเช่น วาเลนไทน์ที่ผ่านมา มีคู่รักเพศเดียวกันได้พยายามไปจดทะเบียนสมรส ถึงแม้ว่าพวกเขาจะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ก็ตาม แต่อย่างไร ก็เป็นการแสดงออกถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ตามกฎหมายของพวกเขา พงษ์ธร จันทร์เลื่อน ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพลัส จังหวัดเชียงใหม่ผู้ร่วมผลักดันร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวเผยกับกรุงเทพธุรกิจไว้ว่าทั้งหมดเป็นความพยายามให้สังคมเข้าใจว่าคู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกันมีอยู่จริงในสังคม” ในชีวิตประจำวันพวกเขาใช้ชีวิตอย่างยากลำบากและเต็มไปด้วยอุปสรรค เช่นการจะทำนิติกรรมร่วมกัน การจัดการทรัพย์สินต่างๆ อันถือเป็นเรื่องสำคัญกรณีหญิง – ชายที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสกันแล้วก็เสมือนเป็นคน คนเดียวกันเขาสามารถทำนิติกรรมต่างๆ ร่วมกันได้แต่สิทธิเหล่านี้กลับไปไม่ถึงคนที่มีคู่ชีวิตเป็นเพศเดียวกันดังนั้นเราจึงพยายามบอกกับสังคมว่า “ได้โปรดหันมามองพวกเราเถิด”